| หมวด ก และ ข | หมวด ค และ ง | หมวด จ, ช, ซและ ฐ | หมวด , ด, ต, ท, น และ, บ |
หมวด ป, ผ, พ, ฟ, ภ, ม และ ย | หมวด ร และ ล | หมวด ว, ส และ ห | หมวด อ และ ฮ |
หมวด ด ต ท และ บ
 
ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer)

          คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมดดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบตัวเลขคล้ายลูกคิด โดยแต่ละหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสิบที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถึงเก้าได้สิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่เป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ แทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้
   
ดิฟเฟอร์เรนซ์เอนจิน (difference engine)
          ในปี พ.ศ. 2343 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่าชาร์ลส์ แบบเบจ (Charlas Babbage) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาเครื่องคำนวณที่สามารถหาค่าตัวเลขของตารางคณิตศาสตร์ เช่น ตรีโกณมิติและลอกการิทึมได้
   
ดีดีอาร์ เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM)
เป็นแรมที่พัฒนามาจากเอสดีแรม นิยมเรียกอีกอย่างว่า ดีอาร์ดีแรม (DRDRAM) สามารถทำงานได้เร็วกว่าเอสดีแรมธรรมดา 2 เท่าที่ความถี่เดียวกัน คือสามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลได้ 2 ครั้งใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกา
   
ดีวีดี (Digital Versatile Disk : DVD)
          พัฒนามาจากเทคโนโลยีจานแสงเช่นเดียวกับซีดีรอม เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีการการพัฒนาทั้งในด้านความจุข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล โดยแผ่นดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 4.7 ถึง 17 จิกะไบต์และมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ในช่วง 600 กิโลไบต์ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที และด้วยคุณสมบัติเด่นดังกล่าวจึงนำดีวีดีมาใช้ในการบรรจุภาพยนต์แทนซีดีรอมซึ่งต้องใช้ซีดีรอมมากกว่า 1 แผ่นในการเก็บข้อมูลภาพยนต์ทั้งเรื่อง แต่หากใช้ดีวีดีในการเก็บภาพยนต์สามารถเก็บทั้งภาพและเสียงของภาพยนต์ทั้งเรื่องไว้ในดีวีดีเพียงแผ่นเดียวและคุณภาพของข้อมูลที่เก็บสูงกว่าคุณภาพของข้อมูลในซีดีรอมหรือสื่อชนิดอื่นมาก ในท้องตลาดปัจจุบันจึงนิยมผลิตภาพยนต์ในรูปของดีวีดีจำหน่ายแทนเลเซอร์ดิสก์ (laser disk) และวิดีโอเทป
   
ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM)
          เป็นหน่วยความจำที่มีใช้งานอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุสูง หน่วยความจำชนิดนี้เก็บข้อมูลเลขฐานสองแต่ละบิตไว้ที่ตัวเก็บประจุ ซึ่งจะมีการคายประจุทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้หายไปได้ จึงต้องออกแบบให้มีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าหรือที่เรียกว่ารีเฟรช (refresh) ให้ตัวเก็บประจุตลอดเวลาเพื่อให้ข้อมูลที่เก็บภายในยังคงอยู่ตลอดการใช้งาน ซึ่งการรีเฟรชดังกล่าวมีผลให้หน่วยความจำชนิดนี้อ่านและเขียนข้อมูลได้ช้า
   
ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode :LED)
          อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กทำด้วยวัสดุประเภทสารกึ่งตัวนำ โดยจะสามารถเปล่งแสงออกมาได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ไดโอดเปล่งแสงจะใช้สำหรับไฟเพื่อเป็นเครื่องชี้นำขนาดเล็ก เช่น หลอดไฟขนาดเล็กที่อยู่ด้านหน้าของหน่วยขับแผ่นบันทึกบนเครื่องคอมพิวเตอร์
   
ตัวต่อประสาน (interface)
          ส่วนต่อประสานระหว่างอุปกรณ์ 2 เครื่อง หรือระหว่างโปรแกรมใช้งาน 2 โปรแกรม หรือระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมเพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลขึ้น ส่วนต่อประสานนี้จะทำให้เรามีการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ และทำให้คอมพิวเตอร์มีการโต้ตอบกับอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ส่วนต่อประสานที่ใช้กันทั่วไปมี 3 แบบ ได้แก่
      ส่วนต่อประสานฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วยสายเคเบิล ตัวต่อ และช่องทางเข้า/ออก สำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม และเมาส์
   ส่วนต่อประสานซอฟแวร์ ประกอบด้วยคำสั่ง ข้อความ และรหัสที่ซอฟแวร์ 2 โปรแกรมสามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ เช่น ตัวต่อประสานซอฟแวร์ที่อยู่ระหว่างระบบปฏิบัติการใช้จาน (DOS) และโปรแกรมใช้งานที่เราใช้อยู่บนระบบนั้น
    ส่วนต่อประสานผู้ใช้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ให้ผู้ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับผู้ใช้ได้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์ และรายการเลือกใช้งาน
   
ตัวอักขระ (character)
          หมายถึงตัวอักขระแต่ละตัว ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษรหรือเครื่องหมายใด ๆ การแทนตัวอักขระแต่ละตัวในคอมพิวเตอร์ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งเราเรียกอีกอย่างว่าไบต์
   
ตำแหน่งที่อยู่ (address)
          หมายเลขบอกตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยความจำ ทุกๆไบต์ของหน่วยความจำและทุกๆ ส่วนวงของจานบันทึกแบบแข็งหรือซีดีรอมจะมีเลขที่อยู่ของตัวเองเสมอ
   
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)
          หมายถึง การนำวิทยาการที่ ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้ สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
   
เทคโนโลยีสื่อประสม (multimedia)
          วิธีการที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศโดยการใช้สื่อมากกว่าหนึ่งอย่างในการเสนอ เช่น ภาพกราฟิก ข้อความ เสียง และวีดิทัศน์ โดยเน้นถึงการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และสื่อด้วย
   
แท่งชี้ควบคุม (track point)
          มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกที่ส่วนยอดหุ้มด้วยยาง โผล่ขึ้นมาตรงกลางในแผงแป้นอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนจอภาพ โดยการโยกแท่งชี้ควบคุมไปในทิศทางที่ต้องการ
   
แท็บคุณสมบัติ (properties)
          ใช้แสดงคุณสมบัติและสามารถกำหนดค่าของคุณสมบัติของคอมโพเนนต์ได้ ภายในแท็บนี้ประกอบด้วย 2 สดมภ์ โดยสดมภ์ทางซ้ายแสดงชื่อคุณสมบัติ และทางขวาสำหรับให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถกำหนดค่าของคุณสมบัตินั้นๆ
   
แท็บเหตุการณ์ (events)
          ใช้ในการกำหนดการกระทำหรือโปรแกรมย่อยที่ตอบสนองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคอมโพเนนต์ ภายในแท็บนี้ประกอบด้วย 2 สดมภ์เช่นกัน โดยทางซ้ายแสดงชื่อเหตุการณ์และทางขวาแสดงชื่อของโปรแกรมย่อยที่ต้องกระทำการเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้น และสำหรับการเขียนรหัสคำสั่งภายในโปรแกรมย่อยเหล่านั้นจะต้องเขียนบนหน้าต่างเอดิเตอร์
   
โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (notebook computer)
          เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กสามารถหิ้วพกพาไปในที่ต่างๆ ได้เหมือนกระเป๋า มีน้ำหนักประมาณ 1.5 – 3 กิโลกรัม เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีประสิทธิภาพการทำงานเหมือนเครื่องแบบตั้งโต๊ะทั่วไป จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบ
   
บรรจุขึ้น (upload)
        การส่งข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่จากเครื่องลูกข่ายไปยังเครื่องแม่ข่าย
   
บรรจุลง (download)
          การถ่ายโอนข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการจากเครื่องแม่ข่ายมาไว้ในเครื่องลูกข่าย
   
บัฟเฟอร์ (buffer)
          ที่ทำหน้าที่พักข้อมูลที่รับมาจากอุปกรณ์รับเข้าก่อนที่หน่วยประมวลผลกลางจะอ่านข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
   
บัสข้อมูล (data bus)
          ทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความจำและไมโครโพรเซสเซอร์
   
บัสควบคุม (control bus)
          ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
   
บัสที่อยู่ (address bus)
          ทำหน้าที่ส่งตำแหน่งอ้างอิงในหน่วยความจำหลักไปยังหน่วยความจำหลักในขณะที่มีการสั่งจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำดังกล่าว
   
บิต (binary digit : bit)
          ย่อมาจาก binary digit หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ มีค่าข้อมูลเป็นตัวเลขระบบฐานสองคือ 0 และ 1 บิตมักใช้เป็นหน่วยวัดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ในการประมวลผลข้อมูล เช่น 16 บิต หรือ 32 บิต เป็นต้น 4 บิต เท่ากับ 1 นิบเบิล(nibble) และ 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์
      1 ไบต์เป็นกลุ่มของ 8 บิตและจะใช้แทนตัอักขระหรือตัวเลขด้วยเลข 0 ถึง 9 ตัวอย่างเช่น ไบต์ 01000001 คือ อักขระ A เลข 0 หรือ 1 ในไบต์ก็คือ 1 บิต ซึ่งแสดงถึงสถานะ 1 ใน 2 สถานะ คือ 0 = ปิด และ 1 = เปิด การรวมของตัวเลข 0 และ 1 ในลักษณะต่างๆ ให้เป็นชุด 8 ตัวจะแทนข้อมูลทั้งหมดนคอมพิวเตอร์
   
บิตที่มีนัยสำคัญสูงสุด (most significant bit : MSB)
          คือบิตที่อยู่ซ้ายมือสุดเป็นบิตที่มีค่าประจำหลักมากที่สุด เช่น 1002 บิตที่มีนัยสำคัญสูงสุดคือ 1 มีค่าประจำหลักเป็น 22
   
บิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุด (least significant bit : LSB)
          คือบิตที่อยู่ขวามือสุดซึ่งเป็นบิตที่มีค่าประจำหลักน้อยที่สุดเช่น 1102 บิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุดคือ 0 มีค่าประจำหลักเป็น 20 ให้สังเกตว่าค่าประจำหลักของบิตที่มีนัยสำคัญต่ำสุดจะมีค่าเป็น 20 เสมอ
   
บิตพาริตี (parity bit)
          บิตที่ใส่เพิ่มเติมลงไปในไบต์ของข้อมูลในการส่งผ่านสำหรับการตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการส่ง
   
แบ็กโบน (backbone)
          ตัวกลางที่มีความสามารถและความเร็วสูงที่ใช้ในข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) เช่น อินเทอร์เน็ตที่ออกแบบมาเพื่อส่งผ่านข้อมูลได้ไกลหลายพันกม. ในลักษณะกระดูกสันหลังของข่ายงานที่รับภาระหลักในการสื่อสารข้อมูล โดยการใช้สื่อทางกายภาพประเภทต่างๆ ในการให้บริการ รวมถึงไมโครเวฟ ดาวเทียม และสายโทรศัพท์เฉพาะกิจด้วย
   
แบนด์วิดท์ (bandwidth)
          การวัดความถี่ของจำนวนข้อมูลที่สามารถไหลไปในช่องสัญญาณโดยใช้เป็นรอบต่อวินาที (hertz) หรือบิตต่อวินาที (bits per second)
   
ไบออส (Basic Input Output System : BIOS)
          เป็นกลุ่มของคำสั่งที่บรรจุอย่างถาวรในหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (ROM) คำสั่งเหล่านี้จะทำหน้าที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงานระหว่างสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยขับจานบันทึก แผงแป้นอักขระ จอภาพ นาฬิกา เครื่องพิมพ์ ฯลฯ เมื่อใดที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน เครื่องจะอ่านไบออสนี้ก่อนและรอว่าจะมีการสั่งงานอย่างใดต่อไป